โฆษณาต้านคอรัปชั่น

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

ภาษาไทยน่ารู้

ภาษาพูด ภาษาเขียน

การใช้ “ภาษาพูด” กับ “ภาษาเขียน” นับเป็นปัญหาหนึ่งของการใช้ภาษาไทยนะคะ ผู้ใช้ภาษาบางคนนำภาษาพูดมาใช้ในภาษาเขียน บางคนนำภาษาเขียนมาใช้ในภาษาพูด เมื่อต้องการสื่อความหมายด้วยการเขียนก็ควรจะใช้ภาษาเขียนให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ทั้งนี้เพื่อให้เกิดเอกภาพในด้านการใช้ภาษาเขียน ถ้าหากใครนึกอยากจะเขียนอะไรก็เขียนลงไปตามอำเภอใจ พจนานุกรมฉบับนั้นก็คงไม่มีความหมายอะไรนะคะ การที่
ประเทศไทยมีพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ก็เพื่อต้องการให้ภาษาเขียน มีมาตรฐานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แสดงให้เห็นว่าเรามีวัฒนธรรมทางภาษาไม่แพ้นานาอารยประเทศรายการ “ภาษาไทยใช้ให้ถูก” ในวันนี้ขอนำเรื่องของ “ภาษาพูด” กับ “ภาษาเขียน”มาให้ท่านผู้ฟังได้พังกันค่ะภาษาพูด คือ ภาษาที่ผู้ใช้ภาษาใช้สื่อสารในชีวิตประจำวันด้วยการพูดนั่นเอง การพูดมีหลายระดับ ภาษาพูดมีทั้งรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ การใช้ภาษาพูดควรคำนึงถึงความ
เหมาะสมของฐานะบุคคลและกาลเทศะด้วยค่ะภาษาเขียน คือ ภาษาที่เป็นลายลักษณ์อักษรบันทึกไว้เป็นหลักฐานประกอบด้วยสาระที่นำมาอ้างอิงได้ ใช้เป็นภาษามาตรฐาน การใช้ภาษาเขียนควรเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม ไม่มีคำที่เป็นกันเองเหมือนภาษาพูด

ในปัจจุบันเราจะพบว่า มีผู้นำภาษาพูดมาใช้ปนกับภาษาเขียน “ภาษาพูด” ที่ผู้ใช้ภาษา
ส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ใน “ภาษาเขียน” มีหลายลักษณะ ได้แก่


􀀩 ใช้ภาษาเขียนตามที่ออกเสียงจริง เช่น
คำที่ออกเสียง “พ้ม” มักใช้รูปเขียน “พ้ม” รูปเขียนที่ถูกต้องคือ ผม
” “เค้า” ” “เค้า” ” เขา
” “ชั้น” ” “ชั้น” ” ฉัน
” “หยั่งงี้” ” “หยั่งงี้” ” อย่างนี้
” “ยังไง” ” “ยังไง” ” อย่าง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น