โฆษณาต้านคอรัปชั่น

วันอังคารที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2554

สถานที่ท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต

ด้านการปกครอง
จังหวัดภูเก็ต ได้จัดแบ่งเขตการปกครองออกเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้านดังนี้
  • อำเภอเมืองภูเก็ต : มี 8 ตำบล 42หมู่บ้าน
  • อำเภอกะทู้ : มี 3 ตำบล 18หมู่บ้าน
  • อำเภอถลาง : มี 6 ตำบล 42หมุ่บ้าน
มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดอื่น ดังนี้
  • ทิศเหนือ เขตอำเภอถลาง ติดต่อกับจังหวัดพังงา เขตอำเภอตะกั่วทุ่ง มีช่อง แคบปากพระเชื่อมต่อแผ่นดินใหญ่ด้วยสะพานสารสิน และสะพานท้าวเทพกระษัตรี
  • ทิศใต้ เขตอำเภอเมืองภูเก็ต จดกับทะเลอันดามันและมหาสมุทรอินเดีย
  • ทิศตะวันออก เขตอำเภอเมืองภูเก็ต และอำเภอถลางจดอ่าวพังงา ทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
  • ทิศตะวันตก เขตอำเภอเมืองภูเก็ต อำเภอถลางและอำเภอกะทู้ จดทะเลอันดามัน มหาสมุทรอินเดีย
ลักษณะภูมิประเทศ
ภูเก็ต มีรูปร่างเป็นเกาะเรียวยาวจากเหนือไปใต้ มีเกาะบริวารน้อยใหญ่ล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา มีเทือกเขาทอดยาวในแนวเหนือใต้ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร เป็นแนวกำบังลมและฝน ทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณตอนกลางและตะวันออกของเกาะ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขาและหาดทรายที่สวยงาม และบริเวณที่เป็นที่ราบตัดจากภูเขาลงมามีสภาพพื้นที่เป็นที่ดอนลักษณะลูกคลื่นลอนลาด และต่อจากบริเวณนี้จะเป็นพื้นที่ที่มีการตั้งถิ่นฐานของชุมชนที่สำคัญ คือ เทศบาลนครภูเก็ต ชุมชนฉลอง ชุมชนราไวย์ และชุมชนเกาะแก้วเป็นต้น
ลักษณะประชากร
จังหวัดภูเก็ต ในอดีตเจ้าถิ่นเดิม ได้แก่ เงาะซาไก และชาวน้ำ ชาวเล หรือ ชาวไทยใหม่ ต่อมาได้มีชาวอินเดีย ชาวไทย และชาวจีน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีนฮกเกี้ยนอพยพเข้ามา สำหรับชาวไทยได้มีการอพยพเข้ามาอาศัยมากขึ้นทำให้สามารถยึดครองภูเก็ตได้มากกว่าชาติอื่น กลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆที่เข้ามาสู่พื้นที่ภูเก็ตและมีส่วนสำคัญต่อการผสมผสานและสืบต่อวัฒนธรรมของชาวภูเก็ตจนมาถึงปัจจุบัน
จำนวนประชากร
  1. จังหวัดภูเก็ต ประชากรจังหวัดภูเก็ตตามสถิติข้อมูลทะเบียนราษฎร์ ณ 31 ธันวาคม 2546 มีทั้งสิ้น 278,480 คน แต่จากการสำรวจ สัมภาษณ์บุคคลและหน่วยงานราชการต่างๆ พบว่า มีประชากรแฝงจากพื้นที่อื่นๆทั้งจากจังหวัดใกล้เคียงในภาคใต้ กรุงเทพมหานคร รวมทั้งจากประเทศต่าง ๆ ที่เข้ามาในลักษณะของการลงทุนประกอบการด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว ซึ่งมีทั้งแรงงานที่ผิดกฎหมายและถูกกฎหมายจากประเทศเพื่อนบ้านที่ไม่ได้แจ้งชื่อย้ายเข้ามาจำนวนมาก เนื่องจากจังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจ มีธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจอื่นๆที่ต่อเนื่อง สถิติข้อมูลที่จะอ้างอิงได้ชัดเจนในที่นี้จึงเป็นประชากรที่ตามสถิติข้อมูลทะเบียนราษฎร์เท่านั้น
  2. เขตเทศบาลนครภูเก็ตประชากรในเขตผังเมืองรวมเมืองภูเก็ตเดิม ซึ่งรวมทั้งประชากรในเขตเทศบาลนครและประชากรบางส่วนในตำบลรัษฎาและวิชิตได้เพิ่มขึ้นจาก 66,571 คน ในปี 2537 เป็น 88,210 คน ในปี 2546 คิดเป็นอัตราการเพิ่มประมาณ 0.03176 ต่อคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 3.18 ส่วนประชากรในเขตเทศบาลนครภูเก็ต ได้เพิ่มขึ้นจาก 59,155 คน ในปี 2537 เป็น 75,249 คน ในปี 2546 คิดเป็นอัตราการเพิ่มประมาณ 0.02709 ต่อคนต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 2.7 แสดงให้เห็นว่าอัตราการเพิ่มประชากรในเขตเทศบาลเมืองภูเก็ตน้อยกว่าอัตราการเพิ่มประชากรทั้งเขตผังเมืองรวม แสดงว่าประชากรได้มีอัตราเพิ่มมากขึ้นนอกเขตเทศบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตตำบลวิชิตที่ติดกับเขตเทศบาล

    ชาวเล เป็นชาวกลุ่มแรกๆที่มาอาศัยอยู่บนเกาะภูเก็ต จากนั้นมาจึงกลุ่มชนอื่นๆ อพยพตามมาอีกจำนวนมาก ทั้งชาวจีน ชาวไทย ชาวมาเลย์ ฯลฯ จนมีวัฒนธรรมเฉพาะเป็นของตนเอง สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน นับเป็นสีสันอย่างหนึ่งของภูเก็ต

    ตามบันทึกของ ฟรานซิส ไลท์ กล่าวถึงลักษณะของชาวภูเก็ตว่าเป็นพวกผสมผสานกันทางด้านเชื้อชาติ และวัฒนธรรมกับชาวมลายู โดยเฉพาะคนไทยจำนวนมากในสมัยนั้นทำตัวเป็นทั้งมุสลิม และพุทธศาสนิกชน คือ ไม่รับประทานหมู แต่สักการะพระพุทธรูป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น