โฆษณาต้านคอรัปชั่น

วันจันทร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2554

การดูแลรักษาบ้าน

12 ไอเดียมุมพักผ่อนในบ้าน
pic 1



ในช่วงเวลาของการพักผ่อน แน่นอนว่าแต่ละคนจะต้องมีมุมส่วนตัวเป็นมุมโปรดอยู่ที่ใดที่หนึ่งภายในบ้าน หากยังคิดไม่ออกว่าจะใช้มุมไหนก็มีวิธีง่ายๆ เนรมิตมุมพักผ่อนในบ้านที่ช่วยให้คุณรู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น
1. สร้างบรรยากาศในห้องให้เป็นธรรมชาติ ด้วยการทาผนังเป็นสีขาว และทำพื้นหินขัดสีขาวที่ดูสบายตา ใช้เฟอร์นิเจอร์ไม้สีธรรมชาติที่ไม่ต้องทำสี หรือใช้ของตกแต่งที่ทำด้วยวัสดุโปร่งใส ทำให้ห้องดูโปร่งสบายตาน่าพักผ่อนตลอดเวลา
2. เพิ่มความหวานให้บ้านไม้เก่า น่าพักผ่อนมากขึ้น ด้วยการติดวอลล์เปเปอร์ลายดอกไม้แสนหวานบนฝ้าเพดาน เพื่อช่วยปกปิดความไม่เรียบร้อยของฝ้าเดิม และให้ความรู้สึกเหมือนกับดอกไม้กำลังโปรยลงมา พร้อมทั้งใช้เฟอร์นิเจอร์หวายที่ดูเป็นกันเอง วางหมอนและผ้าปูโต๊ะลายดอกไม้สีสวย ก็ทำให้น่านั่งขึ้นเป็นกอง
3. กั้นห้องนั่งเล่นให้เป็นสัดส่วน ด้วยการออกแบบส่วนบนของผนังเป็นหน้าต่างกระจกบานหมุนที่สามารถพลิกเปิด – ปิดได้ ช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดี และดูโปร่งขึ้นก็สามารถพักผ่อนได้อย่างไม่อึดอัด

pic 2


4. พักผ่อนในห้องนอนสไตล์ญี่ปุ่น ด้วยการยกระดับพื้นขึ้นมา 15 – 20 ซม. ปูพื้นด้วยเสื่อตาตามิที่สั่งทำมาเป็นแผ่นให้พอดีกับพื้นที่แล้ววางฟูกนอน กับพื้น ใช้หน้าต่างบานเกล็ดไม้ปรับแสงแทนผ้าม่าน ก็ให้ความรู้สึกเรียบง่ายและผ่อนคลายแบบเป็นธรรมชาติ
5. พักผ่อนด้วยการอาบน้ำให้ชุ่มฉ่ำ ด้วยการทำหลังคาสกายไลท์ ทำ Rain Shower ด้วยแผ่นอะคริลิกใสที่ทำเป็นกระบะ เจาะรูให้น้ำไหลลงมาเป็นสายฝน แคนั้นก็สามารถอาบน้ำใต้แสงแดดอุ่นๆ ได้อย่างสบายอารมณ์ พร้อมกรุพื้นและผนังด้วยไม้ธรรมชาติให้รู้สึกผ่อนคลายยิ่งขึ้น
6. ทำมุมเคาน์เตอร์บาร์ที่เน้นความโปร่งสบายไว้สังสรรค์ ด้วยการทำผนังกั้นห้องด้วยกระจกฝ้า ติดชั้นสำเร็จรูปไว้กับกรอบวงกบ (แต่ไม่ควรวางของหนัก) ให้มีระดับสูงต่ำต่างกันเพื่อความสวยงาม พร้อมทั้งทำเคาน์เตอร์ด้วยเหล็กกล่องและไม้อัดพ่นสีดำ ขึงลวดสลิงตกแต่งดูเท่ และโปร่งตา
7. ดึงความสดชื่นมาไว้ในห้องนั่งเล่น ด้วยการทำมุมนั่งเล่นไว้ริมหน้าต่างกระจกแล้วปลูกไม้พุ่มริมผนังให้สูง 80 ซม. ก็สามารถมองเห็นต้นไม้สีเขียวสดชื่นจากภายในห้อง โดยไม่ต้องปลูกต้นไม้ในบ้านให้ลำบาก และยังดูโปร่งสบายตาอีกด้วย
8. เพิ่มมุมน่ามองให้ห้องรับประทานอาหาร ด้วยการเปลี่ยนผนังทึบเป็นผนังกระจก แล้วทำแผงไม้ระแนงด้านนอกให้ห่างจากผนังอย่างน้อย 60 ซม. เพื่อให้สามารถเดินเข้าไปดูแลได้ พร้อมปลูกไม้เลื้อยและแขวนไม้ประดับให้ดูชุ่มชื่น ก็ช่วยให้ดูสบายตาและยังคงรู้สึกเป็นส่วนตัวเหมือนเดิม
9. ทำห้องเล่นพูล สำหรับคนรักการพักผ่อนด้วยการทำกิจกรรม โดยเตรียมห้องขนาด 5.30 x 7.00 ม. เพื่อให้เล่นได้สะดวก หรือทำผนังห้องเป็นประตูบานเลื่อนที่สามารถเปิดได้กว้าง เพื่อขยายพื้นที่ห้องให้กว้างขึ้น แล้วยังสามารถปิดประตูไม่ให้รบกวนส่วนอื่นของบ้านได้ด้วย
10. ออกแบบหน้าบ้าน ให้เป็นมุมนั่งเล่นรับลมแบบเปิดโล่งไว้ริมสระว่ายน้ำ ด้วยการเลือกใช้ เฟอร์นิเจอร์ที่ดูโปร่งน่านั่ง แล้วติดผ้าม่านสีขาวโดยรอบเพื่อช่วยบังแสงแดดยามบ่าย และดูพลิ้วไหวให้ความรู้สึกเบาสบายยิ่งขึ้น
11. เพิ่มความสดใสและความเข้มขรึม ด้วยการติดเฟรมภาพเพ้นท์ศิลปะขนาดใหญ่โทนสีฟ้า และสีส้มบนผนัง ซึ่งออกแบบให้เลื่อนได้และใช้แทนประตูกั้นห้อง พร้อมแต่งห้องด้วยพื้นไม้สีเข้ม เฟอร์นิเจอร์หนัง และแชนเดอเลีย ที่ผสมผสานทั้งสองอารมณ์ให้มีเสน่ห์น่าประทับใจ
12.สร้างมุมพักผ่อนแบบเป็นกันเอง ด้วยการใช้เก้าอี้เปลแทนโซฟา และทำพื้นไม้ยกระดับสูง 40 ซม. วางเบาะรองนั่งแบบยาวที่ใช้ได้ทั้งนั่งและนอนเล่น พร้อมปูพรมนุ่มๆ ให้รู้สึกสบายเหมือนพักในบ้านตากอากาศ
Add comment พฤษภาคม 27, 2009

การดูแลผนังบ้าน

การเตรียมตัวรับปัญหาบ้านหน้าฝน หน้า ฝนบ้านเรานั้นยาวนาและหนักหนาพอสมควร การดูแลรักษาบ้านเพ่อพร้อมรับหน้าฝนเป็นสิ่งที่ไม่ควรหลีกเลี่ยงเกี่ยงทำ เป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะ การดูแลผนังบ้าน ผนังบ้านมีจุดอ่อนมากมายที่อาจจะเป็นปัญหา หรือบางท่านอาจกำลังประสบปัญหาเหล่านี้อยู่ก็ได้
ขอเริ่มจาก ผนังปูน (ก่ออิฐฉาบปูน ) ผนังประเภทนี้มีปัญหาสากลคือ การร้าว สาเหตุของการร้าวมีดังนี้
1. ร้าวเนื่องจากอิฐทรุดตัวส่งผลให้ปูนฉาบร้าวหากทรุดตัวมากผนังเสียรูปคือบวม หรือเบี้ยวต้องมีการทุบและก่อใหม่แต่ส่วนมากไม่รุนแรงมากการแก้ไขทำได้โดย สกัดผิวและฉาบแต่งใหม่ด้วยปูนฉาบหรือวัสดุกันซึมต่างๆ
2.ร้าวเนื่อง จากปูนฉาบหดตัวสาเหตุหลักมาจากช่วงเวลาของการฉาบการฉาบปูนภายนอกอาคารหากฉาบ ในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัดหรือผนังอยู่ฝั่งที่โดนแสงแดดโดยตรงจะส่งผลให้ ผนังหดตัวเนื่องจากปูนฉาบแห้งเร็วเกินไปการแก้ไขทำได้โดยยาแนวรอบรอยร้าว ด้วยวัสดุกันซึมที่ไม่มีการยืดหดตัวสูง
3.การรั่วซึมอีกอย่างของผนัง ปูนคือการที่มีการฉาบผนังเพียงด้านเดียวพบมากกับอาคารประเภทตึกแถวหรือผนัง ที่สร้างชิดแนวเขตที่ดินการก่อผนังแล้วปล่อยเปลือยจะส่งผลให้น้ำซึมผ่านรอย ต่อของอิฐเข้ามาสู่ผนังด้านในเนื่องจากไม่มีปูนฉาบเป็นตัวขวางกั้นอีกทั้ง ตัวอิฐมอญ(อิฐสีแดง),คอนกรีตบล็อค(สีเทาๆ)หรือคอนกรีตมวลเบา(สีขาวๆ)จะมี คุณสมบัติในการดูดซึมน้ำดังนั้นนอกจากน้ำจะรั่วแล้วผนังยังจะชื้นตลอดเวลา ทางที่ดีควรจะฉาบผนังทั้งสองด้านและผนังด้านนอกควรผสมกันซึมลงในปูนฉาบด้วย
4. การรั่วซึมเนื่องจากปูนฉาบหรือวัสดุเคลือบผิวหมดสภาพสิ่งของทุกอย่างมีอายุ การใช้งานสีทาอาคารจะมีอายุการใช้งานสูงสุด10ปีดังนั้นต้องหมั่นดูแลรักษา ทาสีเพื่อรักษาตัวปูนฉาบด้วยส่วนปูนฉาบจะมีอายุการใช้งานประมาณ 20-25ปีหลังจากนั้นเนื้อปูนจะสูญเสียประสิทธิภาพลักษณะจะร่วนและไม่เกาะตัว ทำให้อาคารเก่าบางแห่งรั่วซึมเนื่องจากปูนฉาบอาคารหมดสภาพการดูแลรักษาด้วย การหมั่นตรวจสอบและซ่อมแซมการใช้วัสดุทาผิวที่มีคุณสมบัติดีป้องกันแสงแดด และมีการยึดเกาะสูงจะช่วยยืดอายุการใช้งานของผนังฉาบ
ผนังไม้
บ้าน ที่เป็นผนังไม้ส่วนใหญ่เป็นบ้านอายุเกิน 30 ปี ที่พบในปัจจุบันส่วนใหญ่ลักษณะผนังจะเป็นการซ้อนเกล็ดในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งทางนอน ทางตั้ง และบ้านเรือนไทยฝาปะกน สาเหตุหลักของบ้านฝาไม้ที่เกิดการรั่วซึมเนื่องจากการยืดหดตัวของไม้ และการที่ไม้แตก สิ่งที่กระตุ้นอาการเหล่านี้ คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการอยู่ของเจ้าของเดิม บ้านเหล่านี้ก่อสร้างภายใต้สภาพแวดล้อมอากาศตามธรรมชาติ เมื่อเวลาผ่านไปการใช้เครื่องปรับอากาศกลายเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิต มีการติดตั้งเครื่องปรับอากาศเพื่อลดความร้อนจากสภาพอากาศ เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิภายในกับภายนอก ทำให้ไม้เกิดการยืดหดตัวรุนแรง เกิดร่องรอย และบางทีแผ่นไม้แตกตามรอยตะปู เนื่องจากการบิดตัว ส่งผลให้น้ำสามารถลอดผ่านเข้ามาภายในบ้าน การแก้ไข คือ หากต้องการติดเครื่องปรับอากาศ ท่านจะต้องลงทุนกรุผนังภายในด้วยยิปซั่มบอร์ด เพื่อรักษาอุณหภูมิภายในไว้และป้องกันความร้อนเข้าและเนื่องจากยิปซั่มต้อง มีโครง อากาศภายในช่องว่างจะทำหน้าที่เป็นฉนวน ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงพอประมาณแต่คุ้ม(ต.ร.ม ละ 350-380บาท) เพราะจะช่วยท่านประหยัดไฟด้วยเนื่องจากท่านทำห้องให้เป็นเหมือนคูลเลอร์
ผนังวัสดุอื่น ๆ
ผนัง วัสดุอื่น ๆ มักเกิดการรั่วซึมสาเหตุเกิดจากรอยต่อวัสดุที่ไม่ดี ต่อไม่ถูกต้องตามการติดตั้งของผู้ผลิต การต่อของวัสดุต้องเป็นไปตามมาตรฐานของผู้ผลิตมักไม่มีปัญหา วัสดุอื่นที่นิยมใช้และพบว่ารั่ว คือ ผนังกระจก ผนังกระจกจะรั่วบริเวณกระจกต่อกับวัสดุอื่นโดยเฉพาะวัสดุที่มีอัตราการยืดหดตัวสูง เช่น ไม้ และเหล็ก ต้องดูแลวัสดุยาแนว(ซิลิโคน)ว่า
1. ยาแนวได้ดีถูกต้องไม่มีฟองอากาศ
2. ซิลิโคนมีอายุการใช้งานประมาณ 5-7 ปี ต้องดูแลว่าใกล้หมดอายุหรือไม่ และต้องมีการดูแลรักษาตามวาระนะคะ หวังว่าข้อมูลเบื้องต้นเหล่านี้คงจะช่วยท่านผู้อ่าน เตรียมตัวรับหน้าฝนที่กำลังจะมาเยือนได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น